วันศุกร์ที่ 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2557

11) กฎหมายเอกชน

ได้อะไร...เมื่อไปทำ พ.ร.บ.มอเตอร์ไซค์
 
กฎหมายเอกชน…
กฎหมายเอกชน คือ กฎหมายที่กำหนดความสัมพันธ์ระหว่างเอกชนด้วยกันเท่านั้นครับ โดยเป็นกฎหมายที่กำหนดสิทธิทางแพ่งของประชาชนอันเป็นสิทธิทางกฎหมายที่เอกชนคนใดคนหนึ่งจะใช้ยืนยันกับเอกชนคนอื่นได้ เช่น กฎหมายเกี่ยวกับความสัมพันธ์ในครอบครัวคือ พี่น้องลุงป้าน้าอา ดังเช่นเรื่องที่ว่าด้วยมรดก หรือระหว่างสามีกับภรรยาในเรื่องการ
หย่าร้าง พ่อแม่กับลูก ก็เช่นเรื่องมรดก เรื่องการอุปถัมภ์ดูแล เรื่องหนี้สิน ฯลฯ หรือกฎหมายที่กำหนดความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจระหว่างประชาชนด้วยกันเอง เช่น การแลกเปลี่ยนสินค้า ผลผลิตทางด้านต่างๆและบริการระหว่างเอกชนด้วยกันเอง เช่น การทำสัญญาในรูปแบบต่างๆ นั่นเองครับผม
เมื่อมีเอกชน…ก็ต้องมีมหาชน
คุณผู้อ่านจะเข้าใจกฎหมายเอกชนมากขึ้นเมื่อเปรียบเทียบกับกฎหมายมหาชนครับผม เพราะกฎหมายเอกชนแตกต่างกับกฎหมายมหาชนคือ กฎหมายมหาชนเป็นกฎหมายที่กำหนดความสัมพันธ์ระหว่างรัฐหรือหน่วยงานรัฐกับประชาชน หรือนิติบุคคล ซึ่งในฐานะที่รัฐเป็นฝ่ายปกครองก็จำเป็นที่จะต้องออกกฎหมายมากำหนดความประพฤติของประชาชน
ขอบเขตของนิติบุคลในประเทศเพื่อให้อยู่ร่วมกันในสังคมด้วยความปกติสุข กฎหมายมหาชนแบ่งออกเป็นหลายประเภทครับ แต่ที่ส่งผลต่อประชาชนทุกคนก็คือกฎหมายรัฐธรรมนูญ กฎหมายปกครอง กฎหมายอาญา กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา เป็นต้นครับ
ประเภทของกฎหมายเอกชน
กฎหมายเอกชนแบ่งออกเป็น 3 ประเภทดังนี้
1) กฎหมายแพ่ง เป็นกฎหมายที่กำหนดเกี่ยวกับสิทธิและหน้าที่ของบุคคล เช่น ความมีสภาพเป็นบุคคล ครอบครัว มรดก นิติกรรม เป็นต้น ซึ่งถ้ามีการละเมิดสิทธิและเสรีภาพของกันและกันแล้ว จะไม่กระทบคนส่วนใหญ่ ลักษณะการลงโทษจึงมีเพียงการชดใช้ค่าเสียหายเท่านั้น
2) กฎหมายพาณิชย์ เป็นกฎหมายที่กำหนดเกี่ยวกับความสัมพันธ์ของบุคคลที่ประกอบการค้าและธุรกิจ เช่น บริษัท ห้างหุ้นส่วน การประกัน เป็นต้น ซึ่งมีผลกระทบกับคนส่วนใหญ่ ดังนั้นลักษณะของกฎหมายจึงต่างจากกฎหมายแพ่งคือจะมีบทลงโทษที่เพิ่มเติมมากขึ้นครับ
3) กฎหมายพิจารณาความแพ่ง เป็นกฎหมายว่าด้วยข้อบังคับที่ใช้ในการดำเนินคดีเมื่อเกิดคดีความทางแพ่ง
สำหรับประเทศไทยของเรา ได้รวมกฎหมายแพ่งและกฎหมายพาณิชย์ไว้เป็นฉบับเดียวกันครับ เรียกว่า ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์นั่นเองครับ
สิทธิตามกฎหมายเอกชน
สิทธิตามกฎหมายเอกชนหมายถึงความเป็นเจ้าของ ความมีอำนาจเหนือหรือความสามารถในการจัดการอย่างหนึ่งอย่างใดต่อวัตถุแห่งสิทธิ หรือเรื่องต่างๆที่เกี่ยวกับสิทธินั้นๆ อันได้แก่
1) สิทธิทางทรัพย์สิน พูดง่ายๆ ก็คือสิทธิที่มีอยู่เหนือทรัพย์สินต่างๆ สิทธิทางทรัพย์สินสามารถยกขึ้นอ้างหรือใช้ต่อสู้กับบุคคลได้ทุกคน แบ่งออกเป็นกรรมสิทธิ์ (ความเป็นเจ้าของซึ่งบุคคลมีอยู่เหนือทรัพย์สินของตน) สิทธิครอบครอง (สิทธิเหนือทรัพย์สินที่ตนเองครอบครองอยู่) และทรัพยสิทธิอื่นๆ
2) สิทธิที่ไม่ใช่ทางทรัพย์สิน เป็นสิทธิอย่างอื่นที่นอกเหนือจากสิทธิทางทรัพย์สิน สิทธิที่ไม่ใช่ทางทรัพย์สินนี้จะใช้ต่อสู้หรืออ้างได้กับบุคคลเฉพาะรายที่บุคคลมีความผูกพันด้วยกันเพื่อให้เป็นไปตามสิทธิที่มีอยู่เท่านั้น ได้แก่ สิทธิทางบุคคล (สิทธิของบุคคลตั้งแต่เกิดจนตาย) และสิทธิทางหนี้ (มีเจ้าหนี้ฝ่ายหนึ่งและมีลูกหนี้ฝ่ายหนึ่ง)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น