วันศุกร์ที่ 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2557

16)  โครงสร้างและความสำคัญของรัฐธรรมนูญ

โครงสร้างและความสำคัญของรัฐธรรมนูญ

 โครงสร้างและความสำคัญของรัฐธรรมนูญ
ประเทศไทยเห็นความสำคัญของรัฐธรรมนูญทุกฉบับตลอดเวลา ดังจะเห็นได้จากเมื่อมีการยกเลิกรัฐธรรมนูญไปแล้ว ก็จะมีการประกาศใช้รัฐธรรมนูญฉบับใหม่มาใช้บังคับ ในเวลาต่อมาทันที ยังผลให้มีการประกาศใช้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรมากถึง 18 ฉบับ ดังที่ได้กล่าวมาข้างต้น
รัฐธรรมนูญเกือบทุกฉบับส่วนใหญ่จะมีโครงสร้างคล้ายคลึงกัน โดยเฉพาะรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พระพุทธศักราช 2550 นั้น ได้ยึดโครงสร้าง หลักการ และเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญแก่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 มาใช้เป็นแนวทางในการจัดทำรัฐธรรมนูญแต่ได้มีการเพิ่มเติมและแก้ไขบางส่วน ซึ่งมีรายละเอียด ดังนี้
1 โครงสร้างของรัฐธรรมนูญแห่งราชฮาณาจักรไทยพุทธศักราช 2550
โครงสร้างของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พระพุทธศักราช 2550 ประกอบด้วย 15 หมวด 1 บทเฉพาะกาล และ 309 มาตรา ซึ่งบางหมวดได้คงไว้ตามหลักการเดิมของรัฐธรรมนูญแก่งราชอาณาจักไทย พุทธศักราช 2540 เช่น หมวด 1 ว่าด้วยบททั่วไป และ หมวด 2 ว่าด้วยพระมหากษัตริย์ แต่บางหมวดก็ได้มรการแก้ไขเพิ่มเติม ดังนี้
1.                หมวด 3 สิทธิเสรีภาพของชนชาวไทย ส่วนใหญ่คงสิทธิเสรีภาพเช่นเดียวกับที่กำหนดไว้ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักไทย พุทธศักราช 2540 แต่เพิ่มให้ประชาชนและชุมชนมีสิทธิเสรีภาพตามข้อเสนอของกรรมาธการยกร่างรัฐธรรมนูญมากยิ่งขึ้น
2.                2. หมวด7 การมีส่วนร่วมทางการเมืองโดยตรงของประชาชน กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการใช้สิทธิโดยตรงของประชาชนในเรื่องการเข้าชื่อเสนอกฏหมาย การเข้าชื่อถอดถอนบุคคลออกจากตำแหน่ง
3.                หมวด 11 องค์กรตามรัฐธรรมนูญ ได้กำหนดความเป็นอิสระในการเสนอร่างกฏหมายและความเป็นอิสระในทางการเงินเพิ่มขึ้น โดยองค์กรต่างๆ ตามรัฐธรรมนูญ แห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 มาบัญญัติรวมไว้ในหมวดเดียวกัน และปรับปรุงใหม่ตามมติคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ กำหนดฐานะขององค์กรให้ชัดเจน โดยแยกเป็นป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ คณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน และผู้ตรวจการแผ่นดินกับองค์กรอื่นตามรัฐธรรมนูญ ได้แก่ องค์กรอัยการ คณะกรรมการสิทธิมนุษย์ชนแห่งชาติสภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
4.                หมวด 12 การตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐ กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการเพื่อตรวจสอบและควบคุมบุคคลผู้ใช้อำนาจรัฐให้มีการปฏิบัติหน้าที่โดยสุจริตและเที่ยงธรรมโดยใช้กระบวนการการตรวจสอบทรัพย์สิน การกระทำที่เป็นการขัดกันแห่งผลประโยชน์การถอดถอนจากตำแหน่ง
5.                หมวด 13 จริยธรรมของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองและเจ้าหน้าที่ของรัฐกำหนดหลักเกณฑ์เกี่ยวกับจริยธรรมของนักการเมื่องและเจ้าหน้าที่ การควบคุมเพื่อให้มีการปฏบัติตามจริยธรรมที่กำหนด รวทั้งหลักเกณฑ์เกี่ยวกับขอบเขตการปฏิบัติหน้าที่รัฐ เพื่อคุ้มครองให้เจ้าหน้าที่รัฐมีอิสระในการปฏิบัติหน้าที่ให้เป็นไปโดยถูกต้องตามกฏหมาย
 
อีกทั้งรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักไทย พุทธศักราช 2550 ก็มีโครงสร้างและหลักการบางอย่างมี่แตกต่างจากรัฐธรรมนูญแห่งราชฮาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 เช่น การกำหนดเขตเลือกตั้งตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักไทย พุทธศักราช 2550 ได้ใช้ขนาดพื้นที่และจำนวนประชากรของแต่ละเขตเป็นหลัก จึงได้กำหนดจำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราชราษฏรไว้แตกต่างกันตั้งแต่ 1-3 คน แตกต่างจากการกำหนดเขตเลือกตั้งตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักไทย พุทธศักราช 2540 ซึ่งกำหนดให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฏรได้เพียงคนเดียวต่อเขต
                                                                                                                       
                                                                                                                  
 
 
 
2 ความสำคัญของรัฐธรรมนูญ
                ดังได้กล่าวแล่วว่าประเทศไทยเห็นความสำคัญของรัฐธรรมนูญที่มีต่อระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตยอย่างมาก โดยมีการประกาศใช้รัฐธรรมนูญฉบับใหม่แทนรัฐธรรมนูญที่ถูกยกเลิกไปใน
เวลาไม่ช้า
 
 
                ความสำคัญของรัฐธรรมนูญ สามารถอธิบายพอสังเขปได้ ดังนี้
1.                ยืนยันความเป็นเอกราชของประเทศไทย
2.                รับรองความเป็นเอกราชของประเทศไทย
3.                ยืนยันว่าประเทศไทยมีการปกครองระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ซึ่งทรงใช้อำนาจอธิปไตยปวงชนชาวไทยผ่านมางรัฐสภา คณะรัฐมนตรี และศาล
4.                คุ้มครองศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ สิทธิและเสรีภาพของชนชาวไทย
5.                5.ให้คุ้มครองประชนชาวไทย ไม่ว่าจะมีเหล่ากำหนดใด เพศใด หรือนับถือศาสนาใดอย่างเสมอกัน
3.  หลักการที่กำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยพุทธศักราช 2550
                รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 ได้บัญญัติหลักการสำคัญเพื่อปฏิรูปการเมืองไทยทั้งในระบบให้เป็นประชาธิปไตย มีความโปร่งใส สามารถตรรวจสอบได้ เป็นการปกครองของประชาชนอย่างแท้จริง รัฐธรรมนูญฉบับนี้จึงได้บัญญัติหลักสำคัญๆ ไว้ด้วยกัน 4 ประการ ดังนี้
1.             การส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของปรัชาชนอย่างเต็มที่ เพิ่มสิทธิเสรีภาพของประชาชนให้กว้างขวางมากขึ้น การใช้สิทธิและเสรีภาพง่ายและมีประสิทธิภาพ รมทั้งทำให้แนงนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐมีความชัดเจนและผูกพันรัฐมากกว่าเดิม เช่น การคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล คุ้มครองสิทธิเสรีภาพของสื่อมวลชน การลดจำนวนประชาชนในการเข้าชื่อเสนอร่างกฏหมาย แลพการถอดถอนผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง เป็นต้น
2.             การลดการผูกขาดอำนาจรัฐและการใช้อำนาจอย่างไม่เป็นธรรม แต่เดิมนั้นรัฐหรือฝ่ายบริหารมีอำนาจมากเกินไป การตรวจสอบฝ่ายบริหารเป็นไปได้ยากและมีการเข้าแทรกฉซงการทำงานของระบบข้าราชการประจำในเรื่องต่างๆ เช่น การแต่งตั้งโยกย้ายเลื่อนตำแหน่ง เป็นต้น ดังนั้น รัฐธรรมนูญฉบับนี้จึงพยายามลดการแทรกแซกข้าราชการลงและให้การอภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐบาลหรือรัฐมนตรีเป็นไปได้ง่ายขึ้น                นอกจากนี้เพื่อเสริมสร้างอำนาจทางการเมืองภาคประชาชน และให้สมาชิกสภาผู้แทนราษฏรเป็นอิสระจากการครอบงำของพรรคการเทือง จะได้ปฏิบัติหน้าที่ในฐานะผู้แทนประชาชนอย่างเต็มที่ จึงกำหนดให้สมาชิกสภาผู้แทนราษฏรมีอิสระจากมติพรรคการเมืองในการตั้งกระทู้ถาม การอภิปราย และการลงมติในการอภิปรายไม่ไว้วางใจ ขณะเดียวกันยังให้สมาชิกวุฒิสภาปลอดจากอิทธิพลจากพรรคการเมืองอย่างแท้จริง และห้ามแทรกแซงข้าราชการประจำด้วย
3.             การทำให้ดารเมืองโปร่งใส มีคุณธรรม และจริยธรรม โดยการเพิ่มหมวด คุณธรรม จริยธรรม ขึ้นในรัฐธรรมนูญฉบับบนี้ ซึ่งได้มีการกำหนดไว้อย่างชัดเจนว่าหากมีการฝ่าฝืนบทบัญญัติจะถือว่าเป็นความผิด หากเป็นข้าราชการก็จะเป็นความผิดทางวินัย หากเป็นผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองในกรณีที่ร้ายแรงก็สามารถถอดถอนออกจากตำแหน่งได้ และได้กำหนดมาตรการเพื่อไม่ให้เกิดผลประโยชน์ทับซ้อนทางการเมือง โดยกหนดให้นายกรัฐมนตรีหรือรัฐมนตรีต้องไม่เป็นหุ้นส่วนหรือผู้ถือหุ้นของบริษัทตามจำนวนที่กฏหมายบัญญัติ ซึ่งครอบคลุมถึงคู่สมรสและบุตรที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะด้วย                                            นอกจากนี้ ยังได้กำหนดให้การแสดงทรัพย์สินและหนี้สินของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง จะต้องเปิดเผยให้แก่สาธารณชนทราบ เช่นเดียวกับนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรี
4.             การทำให้ระบบตรวจสอบมีความเข้มแข็งและทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
โดยไม่ถูกแทรกแซง เช่น ปรับปรุงระบบการสรรหาองค์กรตรวจสอบ เพื่อให้มีอิสระ และปรับปรุงอำนาจหน้าที่และระบบการท่ำงานขององค์กรตรวจสอบให้ดียิ่งขึ้น เช่น ให้สมาชิกสภาผู้แทนราษฏรสามารถเปิดอภิปรายนายกรัฐมนตรีได้ โดยใช้เสียง 1 ใน 5 เป็นต้น
4.แนวทางการปฏบัติตนตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญ
รูปการเลือกตั้ง
                รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 มีเจตนารมณ์ในการปฏิรูปการเมืองไทยทั้งระบบให้เป็นการเมืองของพลเมือง แทนที่จะปล่อยให้การเมืองไทยเป็นของนักการเมืองเพียงอย่างเดียวเหมือนในสมัยก่อน ดังนั้น ประชาชนจึงต้องปฏิบัติตนให้สอดคลิ้งกับบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญฉบับบนี้เพื่อให้การเมืองไทยให้เป็นผลสำเร็จจามเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญ
                แนวทางการปฏิบัติของรัฐธรรมนูญ มีดังนี้
1.             เข้าไปมีส่วนร่วมในกระบวนการทางประชาธิปไตยทุกระดับ ทั้งระดับท้องถิ่นและระดับชาติ โดยการไปออกเสียงเลือกตั้งผู้แทนที่ดีให้ไปทำหน้าที่เป็นสมาชิกสภาองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น สมาชิกสภาผู้แทนราษฏร และสมาชิกวุฒิสภา เพื่อให้คนดีมีความสามารถไปเป็นตัวแทนในการบริหารบ้านเมือง
2.             ทำหน้าที่ที่ติดตามตรวจสอบการใช้อำนาจของสมาชิกสภาผู้แทนราษฏรและผู้บริหารทุกระดับอย่างใกล้ชิด เพื่อป้องกันมิให้บุคคลดังกล่าวใช้อำนาจรัฐเพื่อผลประโยชน์ส่วนตัวหรือในทางทุจริตเหมือนในอดีตอีกต่อไป หากพบว่าสมาชิกสภาผู้แทนราษฏรคนใดหรือผู้บริหารในระดับใดใช้อำนาจรัฐไปในทางทุจริต ประชาชนก็ควรจะร่วมมือกับคณะกรรมการป้องกันแลปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ(คณะกรรมการ ป.ป.ช) ลงโทษนักการเมืองเหล่านั้นและขจัดให้ออกไปจากการเมืองไทย
3.             ให้กำลังใจและสนับสนุนนัการเมืองที่ดีและพรรคการเมืองที่ดี โดยไปออกเสียงเลือกนักการเมืองหรือพรรคการเมืองที่ดีให้มีโอกาสไปปกครองบ้านเมือง รวมทั้งต้องช่วยกันป้องกันนักการเมืองหรือพรรคการเมืองที่ไม่มดีไม่ให้มีโอกาสไปปกครองบ้านเมือง
 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น