วันศุกร์ที่ 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2557

16)  โครงสร้างและความสำคัญของรัฐธรรมนูญ

โครงสร้างและความสำคัญของรัฐธรรมนูญ

 โครงสร้างและความสำคัญของรัฐธรรมนูญ
ประเทศไทยเห็นความสำคัญของรัฐธรรมนูญทุกฉบับตลอดเวลา ดังจะเห็นได้จากเมื่อมีการยกเลิกรัฐธรรมนูญไปแล้ว ก็จะมีการประกาศใช้รัฐธรรมนูญฉบับใหม่มาใช้บังคับ ในเวลาต่อมาทันที ยังผลให้มีการประกาศใช้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรมากถึง 18 ฉบับ ดังที่ได้กล่าวมาข้างต้น
รัฐธรรมนูญเกือบทุกฉบับส่วนใหญ่จะมีโครงสร้างคล้ายคลึงกัน โดยเฉพาะรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พระพุทธศักราช 2550 นั้น ได้ยึดโครงสร้าง หลักการ และเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญแก่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 มาใช้เป็นแนวทางในการจัดทำรัฐธรรมนูญแต่ได้มีการเพิ่มเติมและแก้ไขบางส่วน ซึ่งมีรายละเอียด ดังนี้
1 โครงสร้างของรัฐธรรมนูญแห่งราชฮาณาจักรไทยพุทธศักราช 2550
โครงสร้างของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พระพุทธศักราช 2550 ประกอบด้วย 15 หมวด 1 บทเฉพาะกาล และ 309 มาตรา ซึ่งบางหมวดได้คงไว้ตามหลักการเดิมของรัฐธรรมนูญแก่งราชอาณาจักไทย พุทธศักราช 2540 เช่น หมวด 1 ว่าด้วยบททั่วไป และ หมวด 2 ว่าด้วยพระมหากษัตริย์ แต่บางหมวดก็ได้มรการแก้ไขเพิ่มเติม ดังนี้
1.                หมวด 3 สิทธิเสรีภาพของชนชาวไทย ส่วนใหญ่คงสิทธิเสรีภาพเช่นเดียวกับที่กำหนดไว้ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักไทย พุทธศักราช 2540 แต่เพิ่มให้ประชาชนและชุมชนมีสิทธิเสรีภาพตามข้อเสนอของกรรมาธการยกร่างรัฐธรรมนูญมากยิ่งขึ้น
2.                2. หมวด7 การมีส่วนร่วมทางการเมืองโดยตรงของประชาชน กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการใช้สิทธิโดยตรงของประชาชนในเรื่องการเข้าชื่อเสนอกฏหมาย การเข้าชื่อถอดถอนบุคคลออกจากตำแหน่ง
3.                หมวด 11 องค์กรตามรัฐธรรมนูญ ได้กำหนดความเป็นอิสระในการเสนอร่างกฏหมายและความเป็นอิสระในทางการเงินเพิ่มขึ้น โดยองค์กรต่างๆ ตามรัฐธรรมนูญ แห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 มาบัญญัติรวมไว้ในหมวดเดียวกัน และปรับปรุงใหม่ตามมติคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ กำหนดฐานะขององค์กรให้ชัดเจน โดยแยกเป็นป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ คณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน และผู้ตรวจการแผ่นดินกับองค์กรอื่นตามรัฐธรรมนูญ ได้แก่ องค์กรอัยการ คณะกรรมการสิทธิมนุษย์ชนแห่งชาติสภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
4.                หมวด 12 การตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐ กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการเพื่อตรวจสอบและควบคุมบุคคลผู้ใช้อำนาจรัฐให้มีการปฏิบัติหน้าที่โดยสุจริตและเที่ยงธรรมโดยใช้กระบวนการการตรวจสอบทรัพย์สิน การกระทำที่เป็นการขัดกันแห่งผลประโยชน์การถอดถอนจากตำแหน่ง
5.                หมวด 13 จริยธรรมของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองและเจ้าหน้าที่ของรัฐกำหนดหลักเกณฑ์เกี่ยวกับจริยธรรมของนักการเมื่องและเจ้าหน้าที่ การควบคุมเพื่อให้มีการปฏบัติตามจริยธรรมที่กำหนด รวทั้งหลักเกณฑ์เกี่ยวกับขอบเขตการปฏิบัติหน้าที่รัฐ เพื่อคุ้มครองให้เจ้าหน้าที่รัฐมีอิสระในการปฏิบัติหน้าที่ให้เป็นไปโดยถูกต้องตามกฏหมาย
 
อีกทั้งรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักไทย พุทธศักราช 2550 ก็มีโครงสร้างและหลักการบางอย่างมี่แตกต่างจากรัฐธรรมนูญแห่งราชฮาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 เช่น การกำหนดเขตเลือกตั้งตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักไทย พุทธศักราช 2550 ได้ใช้ขนาดพื้นที่และจำนวนประชากรของแต่ละเขตเป็นหลัก จึงได้กำหนดจำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราชราษฏรไว้แตกต่างกันตั้งแต่ 1-3 คน แตกต่างจากการกำหนดเขตเลือกตั้งตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักไทย พุทธศักราช 2540 ซึ่งกำหนดให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฏรได้เพียงคนเดียวต่อเขต
                                                                                                                       
                                                                                                                  
 
 
 
2 ความสำคัญของรัฐธรรมนูญ
                ดังได้กล่าวแล่วว่าประเทศไทยเห็นความสำคัญของรัฐธรรมนูญที่มีต่อระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตยอย่างมาก โดยมีการประกาศใช้รัฐธรรมนูญฉบับใหม่แทนรัฐธรรมนูญที่ถูกยกเลิกไปใน
เวลาไม่ช้า
 
 
                ความสำคัญของรัฐธรรมนูญ สามารถอธิบายพอสังเขปได้ ดังนี้
1.                ยืนยันความเป็นเอกราชของประเทศไทย
2.                รับรองความเป็นเอกราชของประเทศไทย
3.                ยืนยันว่าประเทศไทยมีการปกครองระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ซึ่งทรงใช้อำนาจอธิปไตยปวงชนชาวไทยผ่านมางรัฐสภา คณะรัฐมนตรี และศาล
4.                คุ้มครองศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ สิทธิและเสรีภาพของชนชาวไทย
5.                5.ให้คุ้มครองประชนชาวไทย ไม่ว่าจะมีเหล่ากำหนดใด เพศใด หรือนับถือศาสนาใดอย่างเสมอกัน
3.  หลักการที่กำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยพุทธศักราช 2550
                รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 ได้บัญญัติหลักการสำคัญเพื่อปฏิรูปการเมืองไทยทั้งในระบบให้เป็นประชาธิปไตย มีความโปร่งใส สามารถตรรวจสอบได้ เป็นการปกครองของประชาชนอย่างแท้จริง รัฐธรรมนูญฉบับนี้จึงได้บัญญัติหลักสำคัญๆ ไว้ด้วยกัน 4 ประการ ดังนี้
1.             การส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของปรัชาชนอย่างเต็มที่ เพิ่มสิทธิเสรีภาพของประชาชนให้กว้างขวางมากขึ้น การใช้สิทธิและเสรีภาพง่ายและมีประสิทธิภาพ รมทั้งทำให้แนงนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐมีความชัดเจนและผูกพันรัฐมากกว่าเดิม เช่น การคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล คุ้มครองสิทธิเสรีภาพของสื่อมวลชน การลดจำนวนประชาชนในการเข้าชื่อเสนอร่างกฏหมาย แลพการถอดถอนผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง เป็นต้น
2.             การลดการผูกขาดอำนาจรัฐและการใช้อำนาจอย่างไม่เป็นธรรม แต่เดิมนั้นรัฐหรือฝ่ายบริหารมีอำนาจมากเกินไป การตรวจสอบฝ่ายบริหารเป็นไปได้ยากและมีการเข้าแทรกฉซงการทำงานของระบบข้าราชการประจำในเรื่องต่างๆ เช่น การแต่งตั้งโยกย้ายเลื่อนตำแหน่ง เป็นต้น ดังนั้น รัฐธรรมนูญฉบับนี้จึงพยายามลดการแทรกแซกข้าราชการลงและให้การอภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐบาลหรือรัฐมนตรีเป็นไปได้ง่ายขึ้น                นอกจากนี้เพื่อเสริมสร้างอำนาจทางการเมืองภาคประชาชน และให้สมาชิกสภาผู้แทนราษฏรเป็นอิสระจากการครอบงำของพรรคการเทือง จะได้ปฏิบัติหน้าที่ในฐานะผู้แทนประชาชนอย่างเต็มที่ จึงกำหนดให้สมาชิกสภาผู้แทนราษฏรมีอิสระจากมติพรรคการเมืองในการตั้งกระทู้ถาม การอภิปราย และการลงมติในการอภิปรายไม่ไว้วางใจ ขณะเดียวกันยังให้สมาชิกวุฒิสภาปลอดจากอิทธิพลจากพรรคการเมืองอย่างแท้จริง และห้ามแทรกแซงข้าราชการประจำด้วย
3.             การทำให้ดารเมืองโปร่งใส มีคุณธรรม และจริยธรรม โดยการเพิ่มหมวด คุณธรรม จริยธรรม ขึ้นในรัฐธรรมนูญฉบับบนี้ ซึ่งได้มีการกำหนดไว้อย่างชัดเจนว่าหากมีการฝ่าฝืนบทบัญญัติจะถือว่าเป็นความผิด หากเป็นข้าราชการก็จะเป็นความผิดทางวินัย หากเป็นผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองในกรณีที่ร้ายแรงก็สามารถถอดถอนออกจากตำแหน่งได้ และได้กำหนดมาตรการเพื่อไม่ให้เกิดผลประโยชน์ทับซ้อนทางการเมือง โดยกหนดให้นายกรัฐมนตรีหรือรัฐมนตรีต้องไม่เป็นหุ้นส่วนหรือผู้ถือหุ้นของบริษัทตามจำนวนที่กฏหมายบัญญัติ ซึ่งครอบคลุมถึงคู่สมรสและบุตรที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะด้วย                                            นอกจากนี้ ยังได้กำหนดให้การแสดงทรัพย์สินและหนี้สินของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง จะต้องเปิดเผยให้แก่สาธารณชนทราบ เช่นเดียวกับนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรี
4.             การทำให้ระบบตรวจสอบมีความเข้มแข็งและทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
โดยไม่ถูกแทรกแซง เช่น ปรับปรุงระบบการสรรหาองค์กรตรวจสอบ เพื่อให้มีอิสระ และปรับปรุงอำนาจหน้าที่และระบบการท่ำงานขององค์กรตรวจสอบให้ดียิ่งขึ้น เช่น ให้สมาชิกสภาผู้แทนราษฏรสามารถเปิดอภิปรายนายกรัฐมนตรีได้ โดยใช้เสียง 1 ใน 5 เป็นต้น
4.แนวทางการปฏบัติตนตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญ
รูปการเลือกตั้ง
                รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 มีเจตนารมณ์ในการปฏิรูปการเมืองไทยทั้งระบบให้เป็นการเมืองของพลเมือง แทนที่จะปล่อยให้การเมืองไทยเป็นของนักการเมืองเพียงอย่างเดียวเหมือนในสมัยก่อน ดังนั้น ประชาชนจึงต้องปฏิบัติตนให้สอดคลิ้งกับบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญฉบับบนี้เพื่อให้การเมืองไทยให้เป็นผลสำเร็จจามเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญ
                แนวทางการปฏิบัติของรัฐธรรมนูญ มีดังนี้
1.             เข้าไปมีส่วนร่วมในกระบวนการทางประชาธิปไตยทุกระดับ ทั้งระดับท้องถิ่นและระดับชาติ โดยการไปออกเสียงเลือกตั้งผู้แทนที่ดีให้ไปทำหน้าที่เป็นสมาชิกสภาองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น สมาชิกสภาผู้แทนราษฏร และสมาชิกวุฒิสภา เพื่อให้คนดีมีความสามารถไปเป็นตัวแทนในการบริหารบ้านเมือง
2.             ทำหน้าที่ที่ติดตามตรวจสอบการใช้อำนาจของสมาชิกสภาผู้แทนราษฏรและผู้บริหารทุกระดับอย่างใกล้ชิด เพื่อป้องกันมิให้บุคคลดังกล่าวใช้อำนาจรัฐเพื่อผลประโยชน์ส่วนตัวหรือในทางทุจริตเหมือนในอดีตอีกต่อไป หากพบว่าสมาชิกสภาผู้แทนราษฏรคนใดหรือผู้บริหารในระดับใดใช้อำนาจรัฐไปในทางทุจริต ประชาชนก็ควรจะร่วมมือกับคณะกรรมการป้องกันแลปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ(คณะกรรมการ ป.ป.ช) ลงโทษนักการเมืองเหล่านั้นและขจัดให้ออกไปจากการเมืองไทย
3.             ให้กำลังใจและสนับสนุนนัการเมืองที่ดีและพรรคการเมืองที่ดี โดยไปออกเสียงเลือกนักการเมืองหรือพรรคการเมืองที่ดีให้มีโอกาสไปปกครองบ้านเมือง รวมทั้งต้องช่วยกันป้องกันนักการเมืองหรือพรรคการเมืองที่ไม่มดีไม่ให้มีโอกาสไปปกครองบ้านเมือง
 

15)  กฎหมาย

กฎหมายคืออะไร 

                คำจำกัดความของ กฎหมาย หมายถึงคำสั่งหรือข้อบังคับความประพฤติของมนุษย์  ซึ่งผู้มีอำนาจสูงสุด หรือรัฏฐาธิปัตย์เป็นผู้บัญญัติขึ้นผู้ใดฝ่าฝืน มีสภาพบังคับ

ลักษณะของกฎหมาย


                เมื่อได้ทราบความหมายของกฎหมายแล้ว  กฎหมายต้องมีลักษณะ  ๕ ประการดังนี้

1. กฎหมายต้องเป็นคำสั่งหรือข้อบังคับ

                    หมายความว่า  กฎหมายนั้นต้องอยู่ในรูปของคำสั่ง  คำบัญชา  อันเป็นการแสดงออกซึ่งความประสงค์ของผู้มีอำนาจในลักษณะเป็นการบังคับ  เพื่อให้บุคคลอีกคนหนึ่งปฏิบัติหรืองดเว้นการปฏิบัติ  มิใช่เป็นการประกาศชวนเชิญเฉย ๆ  เช่น  ในสมัย  จอมพล ป. พิบูลสงคราม  เป็นนายกรัฐมนตรี  รัฐบาลได้ประกาศเชิญชวนคนไทยให้สวมหมวก  เลิกกินหมากและให้นุ่งผ้าซิ่นแทนผ้าโจงกระเบน  ประกาศนี้แจ้งให้ประชาชนทราบว่ารัฐบาลนิยมให้ประชาชนปฏิบัติอย่างไร  มิได้บังคับจึงไม่เป็นกฎหมาย

                2. กฎหมายต้องเป็นคำสั่งหรือข้อบังคับที่มาจากรัฏฐาธิปัตย์ 

                   รัฎฐาธิปัตย์คือ  ผู้ที่ประชาชนส่วนมากยอมรับนับถือว่าเป็นผู้มีอำนาจสูงสุดในแผ่นดิน  โดยที่ไม่ต้องฟังอำนาจจากผู้ใดอีก  ดังนี้รัฎฐาธิปัตย์จึงไม่ต้องพิจารณาถึงที่มาหรือลักษณะการได้อำนาจว่าจะได้อย่างไร  แม้จะเป็นการปฏิวัติหรือรัฐประหารก็ตามถ้าหากคณะปฏิวัติหรือคณะรัฐประหารเป็นรัฎฐาธิปัตย์ที่สามารถออกคำสั่ง  คำบัญชาในฐานะเป็นกฎหมายของประเทศได้

                3. กฎหมายต้องเป็นคำสั่งหรือข้อบังคับที่ใช้ได้ทั่วไป

                    หมายความว่า  กฎหมายต้องเป็นเรื่องที่เมื่อประกาศใช้แล้วจะมีผลบังคับเป็นการทั่วไป  ไม่ใช่กำหนดขึ้นเพื่อประโยชน์ของบุคคลหนึ่ง  หรือให้บุคคลหนึ่งบุคคลใดปฏิบัติตามเท่านั้น  ไม่ว่าบุคคลนั้นจะมีอายุ  เพศ  หรือฐานะอย่างไรก็ตกอยู่ภายใต้ของการใช้บังคับกฎของกฎหมายอันเดียวกัน  (โดยไม่เลือกปฏิบัติ)  เพราะบุคคลทุกคนมีความเสมอภาคที่จะได้รับความคุ้มครองตามกฎหมายเท่าเทียมกัน  แม้กฎหมายบางอย่างอาจจะมีวัตถุประสงค์ที่จะให้ประโยชน์แก่บุคคล  หรือวางความรับผิดชอบให้แก่คนบางหมู่เหล่า  แต่ก็ยังอยู่ในความหมายที่ว่าใช้บังคับทั่วไปอยู่เหมือนกัน  เพราะคนทั่ว ๆ  ไปที่เข้ามาเกี่ยวข้องในกฎหมายนั้นก็ยังต้องปฏิบัติตามอยู่เสมอ

                    สาระสำคัญอีกประการหนึ่งคือ  กฎหมายเมื่อประกาศมีผลบังคับใช้แล้วก็ใช้ได้ตลอกไป (CONTINUITY) จนกว่าจะถูกแก้ไขเพิ่มเติมหรือถูกยกเลิก  หากไม่มีการยกเลิกก็มีผลบังคับใช้ได้เสมอ  ดังสุภาษิตกฎหมายที่ว่า กฎหมายนอนหลับบางคราวแต่ไม่เคยตาย (THELAW  SOMETIMESSLEEP, NEVER DIE)

                4. กฎหมายบัญญัติขึ้นเพื่อให้บุคคลปฏิบัติตาม

                    แม้การปฏิบัติบางครั้งอาจจะเกิดจากความไม่เต็มใจที่จะปฏิบัติ  แต่หากเป็นคำสั่ง  คำบัญชาแล้ว  ผู้รับคำสั่ง  คำบัญชา  ต้องปฏิบัติตาม  หากขัดขืนไม่ปฏิบัติตามก็จะเกิดสภาพบังคับของกฎหมาย  อันเป็นผลร้ายต่อผู้ฝ่าฝืนคำสั่งนั้น  และเป็นที่พึงเข้าใจด้วยว่าผู้ที่อยู่ในฐานะที่จะรับคำสั่งและปฏิบัติตามกฎหมายได้นั้นต้องเป็นบุคคลตามกฎหมาย

                   อย่างไรก็ดีแม้กฎหมายจะไม่ใช้บังคับแก่สัตว์  แต่ก็มีความจำเป็นที่จะต้องควบคุมมิให้สัตว์ก่อความเสียหายหรือความเดือดร้อนรำคาญแก่มนุษย์  ดังนี้กฎหมายจึงกำหนดความรับผิดไว้กับบุคคลผู้เป็นเจ้าของที่ปล่อยปละละเลยไม่ควบคุมดูแลสัตว์เลี้ยงของตนตามสมควร  จึงมิใช่เป็นการออกคำสั่ง  คำบัญชาแก่สัตว์  แต่เป็นการควบคุมโดยผ่านทางผู้เป็นเจ้าของเท่านั้น  ตัวอย่างเช่น  ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์  มาตรา 433  บัญญัติว่า  ถ้าความเสียหายเกิดขึ้นเพราะสัตว์  ท่านว่าเจ้าของสัตว์หรือบุคคลผู้รับเลี้ยงรับรักษาไว้แทนเจ้าของ  จำต้องใช้คำเสียหายทดแทนให้แก่ฝ่ายที่ต้องเสียหาย

                5. กฎหมายต้องมีสภาพบังคับ

                    เพื่อให้กฎหมายเกิดความศักดิ์สิทธิ์  และประชาชนเคารพเชื่อฟังปฏิบัติตามกฎหมายจึงต้องมีสภาพบังคับ (SANCTION) สภาพบังคับของกฎหมายนั้นแบ่งเป็นสภาพบังคับในทางอาญาและทางแพ่ง

                    สภาพบังคับให้ทางอาญาโดยทั่วไปแล้ว  คล้ายคลึงกัน  คือ หากเป็นโทษสูงสุดจะใช้วิธีประหารชีวิต  ซึ่งปางประเทศให้วิธีการนั่งเก้าอี้ไฟฟ้า  แขวนคอ  แต่ประเทศไทยในปัจจุบันให้นำไปฉีดยาให้ตายใช้วิธีประหารด้วยวิธีอื่นไม่ได้  นอกจากนั้นก็เป็นการจำคุก  เป็นการเอาตัวนักโทษควบคุมในเรือนจำ  ซึ่งต่างกับกักขังเป็นการเอาตัวไปกักไว้ที่อื่นที่มิใช่เรือนจำ  เช่นที่อยู่ของผู้นั้นเอง หรือสถานที่อื่นที่ผู้ต้องกักขังมีสิทธิดีกว่าผู้ต้องจำคุก  สำหรับกฎหมายไทยโทษกักขังจะใช้เฉพาะผู้ซึ่งกระทำผิดครั้งแรก  และความผิดนั้นมีโทษจำคุกไม่เกินสามเดือน  ศาลจึงจะลงโทษกักขังแทนจำคุกได้ ส่วนการปรับคือ  ให้ชำระเงินตามที่กฎหมายกำหนดไว้ในคำพิพากษาต่อศาล

                    การริบทรัพย์สิน  คือ  การริบเอาทรัพย์นั้นตกเป็นของแผ่นดิน  เช่น  ปืนที่เตรียมไว้ยิงคน  หรือเงินที่ไปปล้นเขามา  นอกจากการริบแล้วอาจสั่งทำลายทรัพย์สินนั้นเสียก็ได้

                    สภาพบังคับในทางแพ่งก็ได้แก่  การกำหนดให้การกระทำที่ฝ่าฝืนกฎหมายตกเป็นโมฆะ  ตัวอย่างเช่น  การซื้อขายที่ดินโดยมิได้ทำเป็นหนังสือ  และจดทะเบียนต่อเจ้าพนักงานตกเป็นโมฆะ  การทำนิติกรรมซึ่งมีวัตถุประสงค์เป็นการต้องห้ามชัดแจ้งโดยกฎหมายก็ดี  เป็นการพ้นวิสัยก็ดี  เป็นการขัดต่อความสงบเรียบร้อยของประชาชนหรือศีลธรรมอันดีของประชาชนก็ดี  ตกเป็นโมฆะ   การให้ชดใช้ค่าเสียหายแก่อีกฝ่ายหนึ่งจากการไม่ชำระหนี้  การให้ชดใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่ผู้ถูกละเมิดเป็นต้น
14)  ราชกิจจานุเบกษา

ราชกิจจานุเบกษา คืออะไร ?
 
     สิ่งพิมพ์ของราชการฉบับแรก คือ “ ราชกิจจานุเบกษา  นี่แหละครับ ออกเป็นครั้งแรกในรัชกาลที่ ๔ เมื่อเดือนห้า ปีมะเมีย เป็นปีที่แปดในรัชกาลที่ ๔ หรือวันที่ ๑๕ มีนาคม จ.ศ. ๑๒๒๐ ( พ.ศ. ๒๔๐๑ ) นั่นเอง จัดเป็นสิ่งพิมพ์ประเภท ประกาศทางราชการ ที่แจกให้ ไม่คิดสตางค์ จึงไม่ค่อยมีใครเก็บไว้ ? หนังสือนี้ออกหลัง  หนังสือจดหมายเหตุ  ( ฉบับภาษาไทย ) หรือ The BangkokRecorder ( ฉบับภาษาอังกฤษ )  ของหมอบลัดเล เสียอีกครับ ซึ่งออกเมื่อวันที่ ๔ กรกฎาคม จ.ศ. ๑๒๐๖ ( พ.ศ. ๒๓๘๗ ) ที่ว่ากันว่า น่าจะเป็นหนังสือพิมพ์เล่มแรกที่ฝรั่งตีพิมพ์ขึ้นในเมืองสยาม
 

ราชกิจจานุเบกษา รัชกาลที่ ๔
 
     ราชกิจจานุเบกษา เป็นภาษาสันสกฤต แปลว่า “ หนังสือเป็นที่เพ่งดูราชกิจ  ก็คือ หนังสือที่ลงเรื่องราวพระราชกรณียกิจของกษัตริย์ รวมทั้งกฎหมายต่าง ๆ ที่พระองค์ทรงบัญญัติขึ้นมานั่นเอง แต่หลัง ๆ เมื่อเปลี่ยนมาปกครองแบบประชาธิปไตย ( แบบไทย ๆ ) แล้วก็มีเรื่องมากกว่านั้น แต่ก็โดยพระปรมาภิไทย... ดังนั้น หนังสือนี้ก็คือบันทึกอย่างดีทางประวัติศาสตร์แทบจะทุกด้านที่เป็นทางการ ( ทางราชการ ) ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของพระราชวงศ์ ราชการงานเมือง เศรษฐกิจ การค้าขาย การศึกษา ศาสนา ประเพณี การทหาร แทบทุกเรื่องมีอยู่ในนี้หมด ดังนั้น หากต้องการศึกษาเรื่องราวในอดีตแล้วก็หลีกเลี่ยงไม่ได้เลยที่จะต้องอ่าน ราชกิจจานุเบกษา จะอ่านกัน ไล่มาตั้งแต่ รัชกาลที่ ๔ ก็ยิ่งดี  ( แต่อย่าลืมนะว่า จากมุมมองของราชการ = ความจริง ? )
 
     ออกมาได้เพียง ๑ ปีก็หยุดไป ครั้น จ.ศ. ๑๒๓๖ ปีที่หกในรัชกาลที่ ๕ จึงมาออกอีกครั้ง คราวนี้ขายคิดตังค์แล้วครับ ปีละ ๘ บาท !  ออกเดือนละ ๔ ครั้ง ปีนึงก็ ๔๘ แผ่น ( ฉบับ ) เนื้อหาเริ่มชัดเจนขึ้น โดยระบุไว้ในแผ่น ( เล่ม ) แรกว่า เป็น  หนังสือจดหมายเหตุ แลประกาศต่าง ๆ แลข่าวต่าง ๆ แลพระบรมราโชวาท แต่ผู้ครองแผ่นดินสยาม...  ออกมา ๕ ปี คือเล่ม ๑ ถึงเล่ม ( ปีที่ )  ๕ ( จาก จ.ศ. ๑๒๓๖ ถึง ๑๒๔๐ ) ก็หยุดลง หายไปอีก ๑๐ ปี จึงมาออกใหม่อีกครั้ง เป็นเล่ม ( ปีที่ ) ๖ แต่มักเรียกกันว่าเป็นเล่มที่ ๑ ออกมาในวันที่ ๗ เมษายน ร.ศ. ๑๐๘ คราวนี้ออกมาต่อเนื่องถึงปัจจุบันเลยล่ะครับ
 
 
ราชกิจจานุเบกษา รัชกาลที่ ๕
 
     เนื้อหาของราชกิจจานุเบกษา มีอยู่ ๒ ส่วน คือ แผนกกฤษฎีกา กับ แผนกราชกิจจา เนื้อหาเป็นอย่างไร ไปอ่านเอาเอง ที่นี่ครับ
 
     ราชกิจจานุเบกษาสมัยรัชกาลที่ ๕ เล่มที่นิยมสะสมกันนั้นคือ ๖ ปีแรกครับ มี ๖ เล่ม ตั้งแต่เล่มที่ ๑ จ.ศ. ๑๒๓๖ ถึง เล่มที่ ๕ จ.ศ. ๑๒๔๐
 
     อีกเล่มที่นับว่า สุดยอดหายาก คือ เล่มพิเศษ ฉลองพระนคร ๑๐๐ ปี ครับ ชื่อเต็ม ๆ คือ “ ราชกิจจานุเบกษา กรุงเทพมหานคร  เล่มนี้ออกมาเมื่อปี ร.ศ. ๑๐๐ หรือ จ.ศ. ๑๒๔๓ หรือ พ.ศ. ๒๔๒๔ 

     ช่วงว่างจากราชกิจจาฯ นี้ มีเพียงเล่มนี้เล่มเดียวเท่านั้นที่ออกมาให้เห็น เล่มก็เล็กกว่า บางกว่า ผู้จัดทำก็เป็นบุคคลสำคัญมาก ท่านคือ พระองค์เจ้าเกษมสันต์โสภาคย์ ( หรือ พระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหลวงพรหมวรานุรักษ์ ผู้จัดทำ 
 ดรุโณวาท  วารสารฝีมือคนไทยเล่มแรก )
 
     ที่กล่าวมานี้ ท่านคงเห็นภาพบ้างแล้วนะครับว่า ราชกิจจานุเบกษา คืออะไร

     คราวนี้ มาดูกันว่า “ วิวัฒนานุเบกษา  คืออะไร มาจากไหนกัน ?
 
 
 
วิวัฒนานุเบกษา  คืออะไร ?
 
     วิวัฒนานุเบกษา "...เป็นเอกสาร รายงานแถลงกิจการของรัฐบาลและรวบรวมการปฎิบัติงานของส่วนราชการต่าง ๆ คู่กับหนังสือ ราชกิจจานุเบกษา ซึ่งเป็นหนังสือข่าวราชการอันมีประกาศใช้กฎหมาย คำสั่ง ประกาศ และแจ้งความของทางราชการ..."
 
 


หน้าปก " วิวัฒนานุเบกษา "

     จอมพล ป. พิบูลสงคราม กล่าวในคำนำไว้ว่า "...ข้าพเจ้าถือว่าเป็นหนังสือรายงานของรัฐบาลต่อประชาชนผู้เป็นเจ้าของประเทศ ซึ่งได้แจกจ่ายให้เปล่าโดยส่งไปยังส่วนราชการ ห้องสมุดต่าง ๆ จนถึงกำนัน ผู้ใหญ่บ้านและหนังสือพิมพ์ เพื่อให้ประชาชนได้ทราบข้อเท็จจริงและเข้าใจถึงการปฏิบัติของรัฐบาลในการบริหารราชการแผ่นดินโดยมีหลักฐานที่ถูกต้อง..." 
 
 
( ภาพหายไป )ภาพพระภิกษุ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงรับบิณฑบาต
จากจอมพล ป. พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรีและท่านผู้หญิง
 
    วิวัฒนานุเบกษา ออกฉบับแรก ( ปฐมฤกษ์ ) 24 มิ.ย. 2499 มีทั้งหมด 28 ฉบับ ( ? ) ออกมา 1 ปีเท่านั้น ท่านก็หมดอำนาจ ! เจ้าของคือ กรมสารบรรณ คณะรัฐมนตรี ฝ่ายการเมือง มี ผู้อำนวยการฝ่ายเป็นประธานทำงาน จัดทำเพื่อ แสดงวิวัฒนาการ การบริหารราชการแผ่นดินบรรณาธิการ คือ นายเดช คงสายสินธุ์ สำนักงานตั้งอยู่ที่ กรมสารบรรณ คณะรัฐมนตรี ฝ่ายการเมือง พิมพ์ที่ โรงพิมพ์บำรุงนุกุลกิจ จังหวัดพระนคร
    
 

จอมพล ป. พิบูลสงคราม
 
  

 
 
 
 
13) พระราชกรณียกิจ

นับตั้งแต่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชเสด็จขึ้นครองราชสมบัติเป็นประมุขแห่งประเทศไทย เป็นต้นมา พระองค์ได้ทรงประกอบพระราชกรณียกิจในด้านต่าง ๆ อันเป็นประโยชน์แก่ชาวไทยตลอดพระชนมายุของพระองค์ โดยพระราชกรณียกิจที่สำคัญของพระองค์ คือ การเสด็จพระราชดำเนินเยือนประชาชนในท้องถิ่นต่าง ๆ ของประเทศ ดังในปฐมพระบรมราชโองการในระหว่างพระราชพิธีบรมราชาภิเษก เมื่อวันที่ 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2493 ว่า เราจะครองแผ่นดินโดยธรรม เพื่อประโยชน์สุขแก่มหาชนชาวสยาม
ในปี พ.ศ. 2539 จากการที่พระองค์ทรงงานเพื่อประชาชนอย่างหนัก จึงได้มีการลงนามโดยประชาชนชาวไทยเพื่อถวายสมัญญานามให้ทรงเป็น "มหาราช"[1]


พระราชกรณียกิจด้านการเกษตรและการยกระดับสภาพชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชน

การเกษตรนั้นถือได้ว่าเป็นทั้งรากฐานและชีวิตสำหรับประเทศของเรา เพราะคนไทยเราส่วนใหญ่เป็นผู้มีอาชีพทางเกษตรกรรม. ข้าพเจ้าจึงมีความเห็นเสมอมาว่า วิธีการพัฒนาที่เหมาะสมแก่ประเทศเราอย่างยิ่ง ก็คือจะต้องทำนุบำรุงเกษตรกรรมทุกสาขาให้พัฒนาก้าวหน้า เพื่อยกระดับฐานะความเป็นอยู่ของเกษตรกรทุกระดับให้สูงขึ้น [2]
ด้านการเกษตร พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงให้ความสนใจด้านนี้ พระองค์ได้เสด็จเยี่ยม ไต่ถามความทุกข์สุขของประชาชน และรับฟังข้อปัญหาเกิดเป็นโครงการตามพระราชดำริต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นการชลประทาน การพัฒนาดิน การวิจัยพันธุ์พืชและปศุสัตว์ เป็นต้น ดังหัวข้อต่อไปนี้

ทรัพยากรน้ำ

ทรัพยากรน้ำเป็นปัจจัยที่สำคัญยิ่งต่อการอุปโภคบริโภคและการเกษตร พระราชดำรัสที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เคยพระราชทานแก่ คณะผู้อำนวยการสำนักงาน คณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ว่า
หลักสำคัญว่าต้องมีน้ำบริโภค น้ำใช้ น้ำเพื่อการเพาะปลูก เพราะว่าชีวิตนั้นอยู่ที่น้ำ ถ้ามีน้ำคนอยู่ได้ ถ้าไม่มีน้ำคนอยู่ไม่ได้ [3]
โครงการตามพระราชดำริของพระองค์ มีทั้งการแก้ปัญหาภัยแล้ง ปัญหาอุทกภัย รวมไปถึงการบำบัดน้ำเสีย โครงการพัฒนาแหล่งน้ำมีทั้งโครงการขนาดใหญ่สามารถช่วยแก้ไขปัญหาทั้งภัยแล้งและน้ำท่วมได้ เช่น เขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ เขื่อนดินที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย ที่จังหวัดลพบุรี จนถึงโครงการขนาดกลางและเล็กจำพวก ฝาย อ่างเก็บน้ำ โดยพระองค์ทรงคำนึงถึงลักษณะของภูมิประเทศ สภาพแหล่งน้ำ ความเหมาะสมด้านเศรษฐกิจ ประชาชนที่ได้รับประโยชน์และผลกระทบจากโครงการ มาเป็นหลักในการพิจารณา พระองค์ได้ทรงวิจัยและริเริ่มโครงการฝนหลวง เพื่อช่วยบรรเทาภัยแล้งสำหรับพื้นที่นอกเขตชลประทาน
ในเขตกรุงเทพและปริมณฑลที่ประสบปัญหาน้ำท่วม และน้ำเน่าเสียในคูคลอง มีพระราชดำริเรื่องแก้มลิง ควบคุมการระบายน้ำจากแม่น้ำเจ้าพระยาแม่น้ำท่าจีน ลำคลองต่าง ๆ ลงสู่อ่าวไทยตามจังหวะการขึ้นลงของระดับน้ำทะเล ทั้งยังเป็นการใช้น้ำดีไล่น้ำเสียออกจากคลองได้อีกด้วย เครื่องกลเติมอากาศกังหันชัยพัฒนา ในการปรับปรุงคุณภาพน้ำโดยการเพิ่มออกซิเจน เป็นสิ่งประดิษฐ์หนึ่งของพระองค์ที่ได้รับสิทธิบัตรจาก กรมทรัพย์สินทางปัญญา กระทรวงพาณิชย์ เมื่อวันที่ ๒ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๓๖

 


 

พระราชกรณียกิจด้านการอนุรักษ์ฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

พระองค์ทรงใช้ประสบการณ์และแนวพระราชดำริ โครงการหลวงในการพัฒนาและวิจัย พระราชทานทุนการศึกษาแก่นักเรียนไทยไปศึกษาต่อต่างประเทศ เพื่อนำกลับมาพัฒนาประเทศ

พระราชกรณียกิจด้านการแพทย์และสาธารณสุข

ในหลวงประทับพื้น.jpg

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีความห่วงใยประชาชนชาวไทยในทุกด้าน โดยเฉพาะในด้านสุขภาพอนามัย ซึ่งพระองค์ทรงถือว่าปัญหาด้านสุขภาพอนามัยของประชาชนนั้น เป็นปัญหาสำคัญที่ต้องได้รับการแก้ไข ดังพระราชดำรัสที่ว่า ถ้าคนเรามีสุขภาพเสื่อมโทรม ก็จะไม่สามารถพัฒนาชาติได้ เพราะทรัพยากรที่สำคัญของประเทศชาติ ก็คือพลเมืองนั่นเอง พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเป็นห่วง และเอื้ออาทรต่อทุกข์สุขของพสกนิกรอย่างจริงจัง โดยเฉพาะความทุกข์ของไพร่ฟ้าจากพยาธิภัย ในการเสด็จพระราชดำเนินไปทรงเยี่ยมราษฎรตามท้องที่ต่างๆ ทุกครั้ง พระองค์จะทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้มีคณะแพทย์ ทั้งแพทย์ที่เป็นผู้เชี่ยวชาญในแต่ละสาขาจากโรงพยาบาลต่างๆ และแพทย์อาสาสมัคร โดยเสด็จพระราชดำเนินไปในขบวนอย่างใกล้ชิด เพื่อที่จะได้รักษาผู้ป่วยไข้ได้ทันที นอกเหนือจากนั้น พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวยังได้ริเริ่มหลายโครงการด้านการแพทย์และสาธารณสุข ดังนี้
  • โครงการหน่วยแพทย์พระราชทาน
  • โครงการแพทย์หลวงเคลื่อนที่พระราชทาน
  • โครงการแพทย์พิเศษตามพระราชประสงค์
  • หน่วยทันตกรรมเคลื่อนที่พระราชทาน
  • โครงการศัลยแพทย์อาสาราชวิทยาลัยศัลยแพทย์แห่งประเทศไทย
  • โครงการแพทย์ หู คอ จมูก และโรคภูมิแพ้พระราชทาน
  • โครงการอบรมหมอหมู่บ้านในพระราชประสงค์
  • หน่วยงานฝ่ายคนไข้ ในกองราชเลขานุการ สมเด็จพระบรมราชินีนาถ
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมีพระบรมราโชวาทแก่ผู้สำเร็จการศึกษาสาขาแพทยศาสตร์ตอนหนึ่งว่า
จึงใคร่ขอร้องให้ทุก ๆ คนตั้งใจ และพยายามปฏิบัติหน้าที่ให้ได้ผลสมบูรณ์จริง ๆ อย่าปล่อยให้กำลังของชาติต้องเสื่อมถอยลงเพราะประชาชนเสียสุขภาพอนามัย [4]
นับเป็นพระราชดำรัสที่แสดงถึงความตั้งพระทัยในการแก้ไขปัญหาด้านสุขภาพอนามัยของราษฎรอย่างแท้จริง ทั้งนี้อาจกล่าวได้ว่า พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงยึดมั่นที่จะสืบทอดพระราชปณิธานของสมเด็จพระบรมราชชนก พระบิดาแห่งการแพทย์ไทย และสมเด็จพระบรมราชชนนี พระมารดาของการแพทย์ชนบท ในการที่จะให้ประชาชนชาวไทยได้มีสุขภาพพลานามัยที่สมบูรณ์แข็งแรง เพื่อเป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาประเทศชาติสืบไป

พระราชกรณียกิจด้านการศึกษา

The king and educational activity.jpg
The king gives a fund.jpg
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงตระหนักดีว่าการศึกษาของเยาวชนนั้นเป็นพื้นฐานอันสำคัญของประเทศชาติ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้า พระราชทานพระราชทรัพย์จัดตั้งมูลนิธิอานันทมหิดลให้เป็นทุนสำหรับการศึกษาในแขนงวิชาต่างๆเพื่อให้นักศึกษาได้มีทุนออกไปศึกษาหาความรู้ต่อ ดังพระราชดำรัสที่ว่า
การศึกษาเป็นปัจจัยสำคัญในการสร้างและพัฒนาความรู้ ความคิด ความประพฤติ และคุณธรรมของบุคคล หากสังคมและบ้านเมืองใดให้การศึกษาที่ดีแก่เยาวชนได้อย่างครบถ้วนในทุกๆ ด้านแล้ว สังคมและบ้านเมืองนั้นก็จะมีพลเมืองที่มีคุณภาพ สามารถดำรงรักษาความเจริญมั่นคงของประเทศชาติไว้ และพัฒนาก้าวหน้าต่อไปโดยตลอด [5]
พระองค์จึงมีพระราชดำริริเริ่มโครงการต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการศึกษา ดังนี้

โรงเรียนในพระบรมราชูปถัมภ์

โรงเรียนในพระบรมราชูปถัมภ์เป็นโรงเรียนที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงให้การอุปถัมป์ในด้านต่างๆ เช่น ทรงพระราชทานพระราชทรัพย์ช่วยเหลือ ให้คำแนะนำ รวมทั้งเสด็จพระราชดำเนินไปเยี่ยมเยียนและพระราชทานพระบรมราโชวาทเพื่อสนับสนุนและเป็นกำลังใจแก่ครูและนักเรียนของโรงเรียน โรงเรียนในพระบรมราชูปถัมภ์มีทั้งโรงเรียนรัฐบาลและโรงเรียนเอกชน ดังนี้

ทุนการศึกษาพระราชทาน

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงทราบดีว่าเด็กและเยาวชนของไทยมิได้ขาดสติปัญญา หากแต่ด้อยโอกาสและขาดทุนทรัพย์สำหรับการศึกษา จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมพระราชทานพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์เพื่อก่อตั้งกองทุนการศึกษาหลายขั้นหลายทุน ตั้งแต่ระดับประถมศึกษา มัธยมศึกษา และอุดมศึกษา ดังนี้
The king and anantamahidol scholarship.jpg
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมพระราชทานพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์จัดตั้งมูลนิธิอานันทมหิดลขึ้น เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๐๒ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อพระราชทานทุนมูลนิธิอานันทมหิดล แก่นิสิตนักศึกษาที่มีผลการเรียนดีเด่นในด้านต่างๆ ให้นิสิตนักศึกษาเหล่านั้นได้มีโอกาสไปศึกษาหาความรู้วิชาการชั้นสูงในต่างประเทศ และนำความรู้นั้นกลับมาใช้พัฒนาชาติบ้านเมืองให้เจริญก้าวหน้าต่อไป
  • ทุนเล่าเรียนหลวง
  • ทุนมูลนิธิภูมิพล
  • ทุนการศึกษาสงเคราะห์ในมูลนิธิราชประชานุเคราะห์
  • ทุนมูลนิธิราชประชาสมาสัยในพระบรมราชูปถัมภ์ และมูลนิธิโรงเรียนราชประชาสมาสัย
  • ทุนนวฤกษ์
  • ทุนการศึกษาพระราชทานแก่นักเรียนเฉพาะกรณี

โครงการสารานุกรมไทยสำหรับเยาวชน

Thai junior encyclopedia.JPG
โครงการสารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนเริ่มดำเนินงานเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๑๑ โดยคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในสาขาวิชาต่างๆ เพื่อเป็นการสนองพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวที่ว่า
หนังสือประเภทสารานุกรมนั้น บรรจุสรรพวิชาการอันเป็นสาระไว้ครบทุกแขนง เมื่อมีความต้องการหรือพอใจจะเรียนรู้เรื่องใด ก็สามารถค้นหาอ่านทราบโดยสะดวก นับว่าเป็นหนังสือที่มีประโยชน์เกื้อกูลการศึกษาเพิ่มพูนปัญญาด้วยตนเองของประชาชนอย่างสำคัญ โดยเฉพาะในยามที่มีปัญหาการขาดแคลนครูและที่เล่าเรียนเช่นขณะนี้ หนังสือสารานุกรมจะช่วยคลี่คลายให้บรรเทาเบาบางลงได้เป็นอย่างดี[6]
ปัจจุบันโครงการฯ ได้จัดทำหนังสือสารานุกรมไทยที่บรรจุความรู้ใน ๗ สาขาวิชา คือ วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี สังคมศาสตร์ มนุษยศาสตร์เกษตรศาสตร์ แพทยศาสตร์ และคณิตศาสตร์ ขณะนี้มีออกมาแล้ว ๒๘ เล่ม โดยแต่ละเล่มได้จัดแบ่งเนื้อหาของแต่ละเรื่องออกเป็นสามระดับ เพื่อที่จะให้เยาวชนสามารถศึกษาค้นคว้าหาความรู้ได้ตามพื้นฐานของตน

พิธีพระราชทานปริญญาบัตรแก่ผู้สำเร็จการศึกษา

The king and graduation ceremony.jpg
ในทุกๆ ปี พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ และพระบรมวงศานุวงศ์จะเสด็จพระราชดำเนินไปยังสถาบันอุดมศึกษาของรัฐ เพื่อพระราชทานปริญญาบัตรแก่ผู้สำเร็จการศึกษา แม้พระราชกรณียกิจนี้จะเป็นภาระแก่พระองค์และพระบรมวงศานุวงศ์มาก แต่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวก็มีพระราชกระแสรับสั่งให้คงพิธีพระราชทานปริญญาบัตร ในปัจจุบันมีมหาวิทยาลัยเอกชนเพิ่มขึ้นเป็นจำนวนมาก จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้พระบรมวงศานุวงศ์เสด็จพระราชทานแทนพระองค์

พระราชกรณียกิจด้านศาสนา

พระองค์เสด็จพระราชดำเนินเป็นประธานในการเปิดพระราชพิธีเนื่องในวโรกาสต่างๆอาทิเช่น พระราชพิธีบำเพ็ญการกุศล ทรงสนับสนุนให้มีการสร้างศาสนสถาน อีกทั้งยังทรงเป็นองค์อัครศาสนูปถัมภกของทุกศาสนา ไม่ใช่เฉพาะแต่ศาสนาที่พระองค์ทรงนับถือ เนื่องจากทุกศาสนาต่างสอนให้คนเป็นคนดีและให้จัดพิมพ์พระไตรปิฎกเป็นจำนวน45เล่ม

พระราชกรณียกิจด้านความมั่นคงภายในประเทศ

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จขึ้นครองราชย์เมื่อวันที่ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2489 และได้มีพระราชพิธีบรมราชาภิเษกอย่างเป็นทางการในวันที่ 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2493 พระราชทานพระปฐมบรมราชโองการแก่พสกนิกรชาวไทยว่า "เราจะครองแผ่นดินโดยธรรม เพื่อประโยชน์สุขแห่งมหาชนชาวสยาม" ตลอดระยะเวลา 60 ปีของการเป็นพระมหากษัตริย์ที่ได้ทรงปกครองประเทศ พสกนิกรชาวไทยทุกหมู่เหล่าตลอดจนผู้เข้ามาพึ่งพระบรมโพธิสมภารต่างได้รับความร่วมเย็นเป็นสุขภายใต้พระบารมีและพระบรมเดชานุภาพเป็นที่ประจักษ์ของผู้คนทั้งหลาย พระองค์ได้เสด็จฯ เยี่ยมพสกนิกรไปทุกหนทุกแห่งได้ทรงพบผู้คนในระดับล่าง แลกเปลี่ยน รับรู้ และทรงเข้าใจในสภาพความเป็นอยู่ของคนเหล่านั้นและได้นำข้อเท็จจริงทั้งหลายอันนำมาซึ่งความทุกข์ยากต่างๆที่คนเหล่านั้นประสบมาหาแนวทางช่วยเหลือแก้ไข เป็นที่มาของโครงการพระราชดำริมากมายกว่าหนึ่งพันโครงการ พิสูจน์ให้เห็นถึงพระปฐมบรมราชโองการดังกล่าวว่า พระองค์ท่าน "ครองแผ่นดินโดยธรรม เพื่อประโยชน์สุขแห่งมหาชนชาวสยาม" อย่างแท้จริง พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงทุ่มเทพระวรกายและพระสติปัญญา ทรงประกอบพระราชกรณียกิจในด้านต่างๆ มากมาย โดยคำนึงถึงประโยชน์สุขของพสกนิกรเป็นหลัก ตลอดระยะเวลาที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงครองสิริราชสมบัติ พระองค์ทรงให้ทุกอย่างกับพสกนิกรและชาติบ้านเมือง ทรงงานอย่างหนักเสียสละประโยชน์สุขส่วนพระองค์ ตรากตรำพระวรกายอย่างไม่เห็นแก่ความเหนื่อยยาก เพียงเพื่อมุ่งหวังให้พสกนิกรทั่วราชอาณาจักรมีความสงบร่มเย็นและมีความกินดีอยู่ดี พระมหากรุณาธิคุณแห่งพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ที่พระราชทานแก่พสกนิกรชาวไทยนั้น...ใหญ่หลวงนัก สมดังที่ได้พระราชทานพระปฐมบรมราชโองการ ในพระราชพิธีบรมราชาภิเษกว่า "เราจะครองแผ่นดินโดยธรรม เพื่อประโยชน์สุขแห่งมหาชนชาวสยาม" ในวันที่ 19 สิงหาคม 2489 เมื่อกำหนดเวลาที่จะเสด็จฯ กลับประเทศสวิตเซอร์แลนด์มาถึง ตลอดทางที่รถพระที่นั่งแล่นผ่านฝูงชนที่มาส่งเสด็จอย่างล้นหลาม ได้ทอดพระเนตรเห็นประชาชนที่แสดงความจงรักภักดี บางแห่งใกล้จนทอดพระเนตรเห็นดวงหน้าและแววตาชัด ที่บ่งบอกถึงความเสียขวัญอย่างใหญ่หลวง ทั้งเต็มไปด้วยความรักและห่วงใย อันเป็นภาพที่ทำให้อยากรับสั่งกับเขาทุกคน ถึงความหวังดีที่ทรงเข้าพระทัย และขอบใจเขาเช่นกัน ขวัญของคนเป็นสิ่งสำคัญ ถ้าขาดกำลังใจ ถ้าขวัญเสียมีแต่ความหวาดระแวง ประเทศจะมีแต่ความอ่อนแอและแตกสลาย ท่ามกลางเสียงโห่ร้องถวายพระพร ก็มีเสียงหนึ่งที่ตะโกนแทรกมาเข้าพระกรรณว่า “ในหลวงอย่าทิ้งประชาชน” ในขณะนั้นทรงนึกตอบในพระทัยว่า “ถ้าประชาชนไม่ทิ้งข้าพเจ้า แล้วข้าพเจ้าจะทิ้งประชาชนได้อย่างไร” เหตุการณ์ในครั้งนั้นเป็นภาพที่ติดอยู่ในพระราชหฤทัยจนไม่อาจทรงลืมได้ จากเดิมที่ทรงตัดสินพระทัยเพียงว่า จะทรงอยู่จนถึงวันพระราชพิธีถวายพระเพลิง พระบรมศพสมเด็จพระบรมเชษฐาเสร็จสิ้นเท่านั้น กลับทำให้ทรงได้คิดว่า ทรงมีหน้าที่เพื่อชาติ และถึงโอกาสแล้วที่ควรจะทรงทำหน้าที่เพื่อชาติและประชาชน ตามที่ทรงได้รับมอบมา ประชาชนจึงเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้ตัดสินพระทัยแน่วแน่ ที่จะอยู่ทำหน้าที่ตามที่ประชาชนพร้อมใจกันทูลเกล้าฯ ถวายพระราชภาระแสนยิ่งใหญ่ “ท่านผู้หญิงเกนหลง สนิทวงศ์ ณ อยุธยา” จรดปลายปากกาเขียนไว้ในหนังสือ “ทำเป็นธรรม” เนื่องในวโรกาสที่ทรงเจริญพระชนมพรรษาครบ 6 รอบ ว่า ในการตัดสินพระทัยที่ทรงรับพระราชภาระจากสมเด็จพระบรมเชษฐาในครั้งแรก คงจะทรงรับเพราะเป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเฉพาะพระพักตร์ในเวลาอันรวดเร็ว ที่จะต้องตัดสินพระทัยด้วยพระองค์เอง ไม่มีใครที่จะถวายความเห็นได้ หันพระพักตร์ไปทางไหนก็ทรงพบแต่ความโศกเศร้า สมเด็จพระราชชนนีได้แต่ทรงพระกันแสง ไม่เสวย ไม่บรรทม แม้พระองค์เองก็แทบจะหมดพระสติ สิ่งที่ทรงรำลึกถึงคือ จะต้องทรงจัดงานพระบรมศพสมเด็จพระบรมเชษฐาให้สมพระเกียรติ อย่างไรก็ดี แม้จะทรงตัดสินพระทัยขึ้นครองราชย์ตามการกราบบังคมทูลเชิญของรัฐสภา แต่สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวยังทรงมีอีกหนึ่งภารกิจสำคัญ นั่นคือ การเสด็จฯกลับไปทรงศึกษาต่อ ณ ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ขณะนั้นจิตใจของประชาชนตกอยู่ในความเสียขวัญ ทรงถือเป็นมิ่งขวัญพระองค์เดียวที่ประชาชนจะยึดมั่นได้ พระราชนิพนธ์บันทึกประจำวันบางส่วนของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ระหว่างวันเสด็จฯจากสยามสู่ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ คงพอจะสะท้อนให้เห็นถึงความรักของประชาชน ที่พร้อมใจส่งเสด็จอย่างมืดฟ้ามัวดิน
...วันที่ 19 สิงหาคม 2489 วันนี้ถึงวันที่เราจะต้องจากไปแล้ว พอถึงเวลาก็ลงจากพระที่นั่งพร้อมกับแม่ ลาเจ้านายฝ่ายใน ณ พระที่นั่งชั้นล่างนั้นแล้ว ก็ไปยังวัดพระแก้วเพื่อนมัสการลาพระแก้วมรกต และพระภิกษุสงฆ์ ลาเจ้านายฝ่ายหน้า ลาข้าราชการทั้งไทยและฝรั่ง แล้วก็ไปขึ้นรถยนต์ พอรถแล่นออกไปได้ไม่ถึง 200 เมตร มีผู้หญิงคนหนึ่งเข้ามาหยุดรถแล้วส่งกระป๋องให้เราคนละใบ ราชองครักษ์ไม่แน่ใจว่าจะมีอะไรอยู่ในนั้น บางทีจะเป็นลูกระเบิด เมื่อมาเปิดดูภายหลังปรากฏว่าเป็นทอฟฟี่ที่อร่อยมาก ตามถนนผู้คนช่างมากมายเสียจริงๆ ที่ถนนราชดำเนินกลาง ราษฎรเข้ามาใกล้จนชิดรถที่เรานั่ง กลัวเหลือเกินว่าล้อรถของเราจะไปทับแข้งทับขาใครเข้าบ้าง รถแล่นฝ่าฝูงคนไปได้อย่างช้าที่สุด ถึงวัดเบญจมบพิตร รถแล่นเร็วขึ้นได้บ้าง ตามทางที่ผ่านมา ได้ยินเสียงใครคนหนึ่งร้องขึ้นมาดังๆว่า “อย่าละทิ้งประชาชน” อยากจะร้องบอกเขาลงไปว่า ถ้าประชาชนไม่ “ทิ้ง” ข้าพเจ้าแล้ว ข้าพเจ้าจะ “ละทิ้ง” อย่างไรได้ แต่รถวิ่งเร็วและเลยไปไกลเสียแล้ว...
เมื่อทรงตัดสินพระทัยแน่วแน่ว่า จะทรงดำรงตำแหน่งประมุขของประเทศ จึงทรงมุ่งมั่นศึกษา เพื่อเตรียมพระองค์ให้พร้อมรับพระราชภารกิจ โดยทรงเปลี่ยนแนวทางการศึกษาใหม่เป็นรัฐศาสตร์กับนิติศาสตร์ อย่างไรก็ดี ทรงยืนกรานที่จะศึกษาจนสำเร็จก่อน แล้วค่อยเสด็จนิวัตประเทศไทย เพื่อประกอบพระราชพิธีบรมราชาภิเษก กระทั่งเดือนมีนาคม ปี 2493 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้เสด็จนิวัตประเทศไทย เพื่อร่วมพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพสมเด็จพระบรมเชษฐา หลังจากนั้นในวันที่ 28 เมษายน ปีเดียวกัน ความโศกสลดของปวงชนชาวไทยได้ทุเลาเบาบางลงบ้าง เมื่อทรงจัดพระราชพิธีราชาภิเษกสมรสกับหม่อมราชวงศ์สิริกิติ์ กิติยากร ซึ่งมีพระบรมราชโองการดำรัสสั่งให้สถาปนาขึ้นเป็นสมเด็จพระราชินีสิริกิติ์ พระอัครมเหสี และต่อมาได้รับการสถาปนาเฉลิมพระเกียรติยศขึ้นเป็น “สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินี” และแล้ววันที่ประชาชนชาวไทยรอคอยก็มาถึง เมื่อพระราชพิธีบรมราชาภิเษกถูกจัดขึ้นอย่างยิ่งใหญ่ตามโบราณราชประเพณี ณ พระที่นั่งไพศาลทักษิณ พระบรมมหาราชวัง ในวันที่ 5 พฤษภาคม 2493 โดยครั้งนั้น มีพระปฐมบรมราชโองการว่า “เราจะครองแผ่นดินโดยธรรม เพื่อประโยชน์สุขแห่งมหาชนชาวสยาม” ทรงหลั่งทักษิโณทก ตั้งพระราชสัตยาธิษฐานจะทรงปฏิบัติพระราชกรณียกิจปกครองราชอาณาจักรไทย โดยทศพิธราชธรรมจริยา ขณะประทับเหนือพระที่นั่งภัทรบิฐ ภายใต้นพปฎลมหาเศวตฉัตร นับแต่วินาทีนั้นเป็นต้นมา พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ก็ทรงยึดถือพระปฐมบรมราชโองการเป็นแนวทางแห่งการปกครองแผ่นดิน โดยทรงตั้งพระราชปณิธานว่า จะทรงร่วมรับมิว่าทุกข์หรือสุขของประชาชน เท่ากับทุกข์หรือสุขของพระองค์เอง จะทำความดี พัฒนานำความเจริญความสุขสวัสดีมาสู่ประเทศชาติอย่างแน่วแน่ และดีที่สุดที่จะทรงทำได้ อย่างไรก็ดี เนื่องจากความจำเป็นทางพระสุขภาพ ที่จะต้องทรงอยู่ในความดูแลของแพทย์ จึงตัดสินพระทัยเสด็จฯไปสวิตเซอร์แลนด์อีกครั้ง พร้อมด้วยสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินี เมื่อวันที่ 5 มิถุนายน 2493 โดยหนึ่งปีหลังจากนั้น ได้ประสูติพระราชธิดาพระองค์แรกคือ “สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าอุบลรัตนราชกัญญา สิริวัฒนาพรรณวดี” ที่เมืองโลซานน์ แต่ด้วยหน้าที่และสมควรแก่เวลา ทำให้พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว มีพระราชดำริจะเสด็จฯ กลับเมืองไทย เพื่อทรงเป็นมิ่งขวัญของปวงชน... วันที่ 2 ธันวาคม 2494 พระประมุขแห่งประเทศไทย พร้อมด้วยสมเด็จพระบรมราชินี และพระราชธิดาองค์โต ได้เสด็จนิวัตเมืองไทยถาวร ท่ามกลางความปลื้มปิติยินดีของประชาชน ซึ่งมารอเฝ้าฯ แน่นขนัดตลอดเส้นทางการเสด็จฯ เมื่อทอดพระเนตรเห็นเช่นนั้น จึงทรงมั่นพระทัยว่า ประชาชนยังไม่ลืมพระองค์ และทุกคนพร้อมเป็นกำลังพระทัยแด่พระองค์เสมอ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ไม่ทรงปล่อยเวลาให้ล่วงเลยโดยเปล่าประโยชน์ หลังเสด็จนิวัตประเทศไทยถาวรได้ไม่นาน ก็ทรงเริ่มศึกษาถึงแนวทางการพัฒนาประเทศตามที่ทรงตั้งพระทัยไว้ โดย “หัวหิน” เป็นแห่งแรกที่ทรงเริ่มสำรวจพื้นที่ ดิน น้ำ อาชีพ และความเป็นอยู่ของประชาชน เนื่องจากมีพระตำหนักที่เสด็จฯไปประทับแทบทุกปี ทรงเริ่มต้นทดลองพัฒนาจากตำบลที่ใกล้พระเนตรก่อน โดยได้ทรงบุกป่าฝ่าดงเข้าไปในหมู่บ้านทุรกันดาร ระยะนั้น ทั้งสองพระองค์เสด็จออกแทบทุกวัน ทรงตระเวนไปแทบทุกตำบลจากหัวหิน ประจวบคีรีขันธ์ เพชรบุรี ราชบุรี จากนั้น ก็เสด็จเยี่ยมราษฎรทั่วทุกภาค ทั้งภาคกลาง, อีสาน, เหนือ และใต้ แต่ละภาคจะเสด็จฯนานเป็นแรมเดือน โดยทุกภาคที่เสด็จฯผ่านมา ล้วนแต่ ทุรกันดารห่างไกลความเจริญ กระนั้น ทั้งสองพระองค์ก็ทรงปรับพระองค์ได้อย่างดีเยี่ยม ไม่เคยทรงปริพระโอษฐ์บ่น และจะทรงปรึกษาหารือกันตลอดถึงสิ่งที่ทรงพบเห็นเพื่อหาทางแก้ไข และช่วยเหลือประชาชนของพระองค์ให้มีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น ตลอดระยะเวลา 60 ปีของการครองสิริราชสมบัติ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงริเริ่มโครงการในพระราชดำริเพื่อการพัฒนาประเทศไว้มากมาย ทรงใช้เวลาศึกษาแผ่นดินไทย และรายละเอียดของพื้นดิน ภูมิประเทศหลักๆของแหล่งน้ำการเกษตร ความต้องการของประชาชน ตลอดจนการส่งเสริมอาชีพว่าถิ่นไหนเหมาะแก่การครองชีพอย่างไร โดยทรงทราบถึงความทุกข์ของประชาชนผ่านการถ่ายทอดจากปากสู่พระกรรณ และจากสายพระเนตรที่ทรงพบเห็นด้วยพระองค์เอง ตั้งแต่เริ่มแรกเสด็จขึ้นครองราชย์จนถึงปัจจุบัน มีพระราชดำริให้จัดตั้งมูลนิธิ 7 มูลนิธิ และโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริอีกกว่า 2,000 โครงการ โดยล้วนแต่เกี่ยวข้องกับการอนุรักษ์และพัฒนาน้ำเป็นอันดับแรก รองลงมาก็คือดิน ธรณีวิทยา การเกษตรทั้งหลาย ตลอดจนการจัดสรรที่ดิน รวมถึงการอนุรักษ์และพัฒนาป่า โครงการที่มีชื่อเสียงได้รับการยอมรับทั่วโลก มีอาทิ “โครงการหลวง” กำเนิดขึ้นจากการที่ได้ทอดพระเนตรถึงปัญหาการปลูกฝิ่น และทำไร่เลื่อนลอยของชาวเขา จึงมีรับสั่งให้ทดลองหาพืชเมืองหนาวให้ชาวเขาปลูกแทนฝิ่น, “โครงการฝนหลวง” กำเนิดจากพระมหากรุณาธิคุณ ที่ทรงห่วงใยในความทุกข์ยากของประชาชนในถิ่นทุรกันดาร ต้องประสบปัญหาขาดแคลนน้ำอุปโภคบริโภค และเกษตรกรรม ทรงศึกษาค้นคว้าแนวทางการทำฝนหลวงด้วยพระองค์เอง ก่อนจะโปรดเกล้าฯให้ดำเนินการทดลองในท้องฟ้าจริงเป็นครั้งแรก ที่วนอุทยานเขาใหญ่ เมื่อปี 2512 ซึ่งสำนักสิทธิบัตรยุโรปได้ออกสิทธิบัตรถวาย นับเป็นพระมหากษัตริย์ พระองค์แรกและพระองค์เดียวในโลก และล่าสุดที่ได้รับการยกย่องอย่างสูงคือ โครงการพัฒนาคนตามแนวพระราชดำริ “เศรษฐกิจพอเพียง” ซึ่งได้พระราชทานเป็นแนวทางการพัฒนาคนอย่างยั่งยืน และเป็นหนทางแก้ไขวิกฤตการณ์เศรษฐกิจ ทั้งหลายทั้งปวงนี้คือ พระราชสัตยาอธิษฐานที่ทรงตั้งปณิธานมาตลอด 6 ทศวรรษการครองสิริราชสมบัติ พระองค์ไม่เพียงแต่จะเป็นพระมหากษัตริย์ที่ครองราชย์ยาวนานที่สุดในโลก แต่ยังเป็นพระมหากษัตริย์ที่ทรงงานหนักที่สุดในโลกอีกด้วย

พระราชกรณียกิจด้านความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ

The king and foreign.jpeg
ATrelations0018a-1.jpg
King thai and king japan.jpeg
ในระหว่างปี พ.ศ. ๒๕๐๒ ถึง ๒๕๑๐ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พร้อมด้วยสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ได้เสด็จพระราชดำเนินเยือนประเทศต่างๆ ทั้งในทวีปเอเชีย ยุโรป และอเมริกาเหนือ รวม ๒๗ ประเทศ เพื่อเป็นการเจริญพระราชไมตรีกับบรรดามิตรประเทศเหล่านั้นให้มีความสัมพันธ์แน่นแฟ้นยิ่งขึ้น และเพื่อนำความปรารถนาดีของประชาชนชาวไทยไปมอบให้กับประชาชนในประเทศต่างๆ โดยรายชื่อประเทศต่างๆ ที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำเนินเยือน มีตามลำดับดังนี้
จากนั้น พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวก็มิได้เสด็จพระราชดำเนินเยือนต่างประเทศอีก เพราะทรงเห็นว่าพระราชภารกิจภายในประเทศนั้นมีมากมาย อย่างไรก็ตาม หากประมุขหรือรัฐบาลของประเทศใดกราบบังคมทูลเชิญให้เสด็จฯ ไปเยี่ยมเยือน พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจะทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้พระราชโอรส หรือพระราชธิดา เสด็จพระราชดำเนินแทนพระองค์ เพื่อเจริญสัมพันธไมตรี รวมทั้งเพื่อทอดพระเนตรวิทยาการ และศิลปวัฒนธรรมของชาตินั้นๆ
จนกระทั่งวันที่  - ๙ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๓๗ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้เสด็จพระราชดำเนินเยือนประเทศลาว พร้อมด้วยสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ และสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯซึ่งนับเป็นการเสด็จพระราชดำเนินเยือนต่างประเทศอีกครั้ง หลังจากที่ว่างเว้นมาเป็นเวลานานกว่า ๓๐ ปี
พระราชกรณียกิจด้านการต่างประเทศของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวนั้น รวมไปถึงการเสด็จพระราชดำเนินออกให้การต้อนรับราชอาคันตุกะจากประเทศต่างๆ ที่เดินทางมาเยือนประเทศไทย ทั้งยังทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมพระราชทานพระบรมราชวโรกาสให้บรรดาทูตานุทูตเข้าเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาทถวายสาส์นตราตั้งในการเข้ามารับตำแหน่งในประเทศไทย และถวายบังคมทูลลาเมื่อครบวาระอีกด้วย

พระราชกรณียกิจด้านศิลปวัฒนธรรม

  • ทรงตั้งกรมมหรสพขึ้น เพื่อฟื้นฟูศิลปวัฒนธรรมไทย
  • ทรงตั้งโรงละครหลวงขึ้นเพื่อส่งเสริมการแสดงละครในหมู่ข้าราชบริพาร
  • ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ออกแบบอาคารสมัยใหม่เป็นแบบทรงไทย เช่น ตึกอักษรศาสตร์ ซึ่งเป็นอาคารเรียนหลังแรกของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และอาคารโรงเรียนวชิราวุธวิทยาลัย

พระราชกรณียกิจด้านการกีฬา

เรือใบเป็นกีฬาที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวโปรดเป็นพิเศษ พระองค์ทรงเป็นตัวแทนของประเทศไทยลงแข่งเรือใบในกีฬาแหลมทองครั้งที่ 4 ระหว่างวันที่ 9-16 ธันวาคม พ.ศ. 2510 ที่ประเทศไทยเป็นเจ้าภาพ โดยทรงเข้าค่ายฝึกซ้อมตามโปรแกรมการฝึกซ้อม และทรงได้รับเบี้ยเลี้ยงในฐานะนักกีฬา เช่นเดียวกับนักกีฬาคนอื่น ๆ ในที่สุด ด้วยพระปรีชาสามารถ พระองค์ทรงชนะเลิศเหรียญทอง และทรงได้รับการทูลเกล้าฯ ถวายรางวัลเหรียญทอง จากสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ เมื่อวันที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2510 ท่ามกลางความปลื้มปีติของพสกนิกรชาวไทยทั้งประเทศ และเป็นที่ประจักษ์แก่ชนทั่วโลก ทำให้พระอัจฉริยภาพทางกีฬาเรือใบของพระองค์ที่ยอมรับกันทั่วโลก พระองค์ยังได้ทรงออกแบบและประดิษฐ์เรือใบยามว่างออกมาหลายรุ่น พระองค์พระราชทานนามเรือใบประเภทม็อธ (Moth) ที่ทรงสร้างขึ้นว่า เรือใบมด เรือใบซูเปอร์มด และ เรือใบไมโครมด ถึงแม้ว่าเรือใบลำสุดท้ายที่พระองค์ทรงต่อคือ เรือโม้ค (Moke) เมื่อ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2510 เรือใบซูเปอร์มดยังถูกใช้แข่งขันในระดับนานาชาติที่จัดในประเทศไทยหลายครั้ง ครั้งสุดท้ายคือเมื่อ พ.ศ. 2528 ในกีฬาซีเกมส์ครั้งที่ 13
นอกเหนือจากกีฬาเรือใบแล้ว ยังทรงเล่นกีฬาประเภทอื่น ๆ เช่น แบดมินตัน เทนนิส ยิงปืน เป็นต้น