วันศุกร์ที่ 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2557

14)  ราชกิจจานุเบกษา

ราชกิจจานุเบกษา คืออะไร ?
 
     สิ่งพิมพ์ของราชการฉบับแรก คือ “ ราชกิจจานุเบกษา  นี่แหละครับ ออกเป็นครั้งแรกในรัชกาลที่ ๔ เมื่อเดือนห้า ปีมะเมีย เป็นปีที่แปดในรัชกาลที่ ๔ หรือวันที่ ๑๕ มีนาคม จ.ศ. ๑๒๒๐ ( พ.ศ. ๒๔๐๑ ) นั่นเอง จัดเป็นสิ่งพิมพ์ประเภท ประกาศทางราชการ ที่แจกให้ ไม่คิดสตางค์ จึงไม่ค่อยมีใครเก็บไว้ ? หนังสือนี้ออกหลัง  หนังสือจดหมายเหตุ  ( ฉบับภาษาไทย ) หรือ The BangkokRecorder ( ฉบับภาษาอังกฤษ )  ของหมอบลัดเล เสียอีกครับ ซึ่งออกเมื่อวันที่ ๔ กรกฎาคม จ.ศ. ๑๒๐๖ ( พ.ศ. ๒๓๘๗ ) ที่ว่ากันว่า น่าจะเป็นหนังสือพิมพ์เล่มแรกที่ฝรั่งตีพิมพ์ขึ้นในเมืองสยาม
 

ราชกิจจานุเบกษา รัชกาลที่ ๔
 
     ราชกิจจานุเบกษา เป็นภาษาสันสกฤต แปลว่า “ หนังสือเป็นที่เพ่งดูราชกิจ  ก็คือ หนังสือที่ลงเรื่องราวพระราชกรณียกิจของกษัตริย์ รวมทั้งกฎหมายต่าง ๆ ที่พระองค์ทรงบัญญัติขึ้นมานั่นเอง แต่หลัง ๆ เมื่อเปลี่ยนมาปกครองแบบประชาธิปไตย ( แบบไทย ๆ ) แล้วก็มีเรื่องมากกว่านั้น แต่ก็โดยพระปรมาภิไทย... ดังนั้น หนังสือนี้ก็คือบันทึกอย่างดีทางประวัติศาสตร์แทบจะทุกด้านที่เป็นทางการ ( ทางราชการ ) ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของพระราชวงศ์ ราชการงานเมือง เศรษฐกิจ การค้าขาย การศึกษา ศาสนา ประเพณี การทหาร แทบทุกเรื่องมีอยู่ในนี้หมด ดังนั้น หากต้องการศึกษาเรื่องราวในอดีตแล้วก็หลีกเลี่ยงไม่ได้เลยที่จะต้องอ่าน ราชกิจจานุเบกษา จะอ่านกัน ไล่มาตั้งแต่ รัชกาลที่ ๔ ก็ยิ่งดี  ( แต่อย่าลืมนะว่า จากมุมมองของราชการ = ความจริง ? )
 
     ออกมาได้เพียง ๑ ปีก็หยุดไป ครั้น จ.ศ. ๑๒๓๖ ปีที่หกในรัชกาลที่ ๕ จึงมาออกอีกครั้ง คราวนี้ขายคิดตังค์แล้วครับ ปีละ ๘ บาท !  ออกเดือนละ ๔ ครั้ง ปีนึงก็ ๔๘ แผ่น ( ฉบับ ) เนื้อหาเริ่มชัดเจนขึ้น โดยระบุไว้ในแผ่น ( เล่ม ) แรกว่า เป็น  หนังสือจดหมายเหตุ แลประกาศต่าง ๆ แลข่าวต่าง ๆ แลพระบรมราโชวาท แต่ผู้ครองแผ่นดินสยาม...  ออกมา ๕ ปี คือเล่ม ๑ ถึงเล่ม ( ปีที่ )  ๕ ( จาก จ.ศ. ๑๒๓๖ ถึง ๑๒๔๐ ) ก็หยุดลง หายไปอีก ๑๐ ปี จึงมาออกใหม่อีกครั้ง เป็นเล่ม ( ปีที่ ) ๖ แต่มักเรียกกันว่าเป็นเล่มที่ ๑ ออกมาในวันที่ ๗ เมษายน ร.ศ. ๑๐๘ คราวนี้ออกมาต่อเนื่องถึงปัจจุบันเลยล่ะครับ
 
 
ราชกิจจานุเบกษา รัชกาลที่ ๕
 
     เนื้อหาของราชกิจจานุเบกษา มีอยู่ ๒ ส่วน คือ แผนกกฤษฎีกา กับ แผนกราชกิจจา เนื้อหาเป็นอย่างไร ไปอ่านเอาเอง ที่นี่ครับ
 
     ราชกิจจานุเบกษาสมัยรัชกาลที่ ๕ เล่มที่นิยมสะสมกันนั้นคือ ๖ ปีแรกครับ มี ๖ เล่ม ตั้งแต่เล่มที่ ๑ จ.ศ. ๑๒๓๖ ถึง เล่มที่ ๕ จ.ศ. ๑๒๔๐
 
     อีกเล่มที่นับว่า สุดยอดหายาก คือ เล่มพิเศษ ฉลองพระนคร ๑๐๐ ปี ครับ ชื่อเต็ม ๆ คือ “ ราชกิจจานุเบกษา กรุงเทพมหานคร  เล่มนี้ออกมาเมื่อปี ร.ศ. ๑๐๐ หรือ จ.ศ. ๑๒๔๓ หรือ พ.ศ. ๒๔๒๔ 

     ช่วงว่างจากราชกิจจาฯ นี้ มีเพียงเล่มนี้เล่มเดียวเท่านั้นที่ออกมาให้เห็น เล่มก็เล็กกว่า บางกว่า ผู้จัดทำก็เป็นบุคคลสำคัญมาก ท่านคือ พระองค์เจ้าเกษมสันต์โสภาคย์ ( หรือ พระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหลวงพรหมวรานุรักษ์ ผู้จัดทำ 
 ดรุโณวาท  วารสารฝีมือคนไทยเล่มแรก )
 
     ที่กล่าวมานี้ ท่านคงเห็นภาพบ้างแล้วนะครับว่า ราชกิจจานุเบกษา คืออะไร

     คราวนี้ มาดูกันว่า “ วิวัฒนานุเบกษา  คืออะไร มาจากไหนกัน ?
 
 
 
วิวัฒนานุเบกษา  คืออะไร ?
 
     วิวัฒนานุเบกษา "...เป็นเอกสาร รายงานแถลงกิจการของรัฐบาลและรวบรวมการปฎิบัติงานของส่วนราชการต่าง ๆ คู่กับหนังสือ ราชกิจจานุเบกษา ซึ่งเป็นหนังสือข่าวราชการอันมีประกาศใช้กฎหมาย คำสั่ง ประกาศ และแจ้งความของทางราชการ..."
 
 


หน้าปก " วิวัฒนานุเบกษา "

     จอมพล ป. พิบูลสงคราม กล่าวในคำนำไว้ว่า "...ข้าพเจ้าถือว่าเป็นหนังสือรายงานของรัฐบาลต่อประชาชนผู้เป็นเจ้าของประเทศ ซึ่งได้แจกจ่ายให้เปล่าโดยส่งไปยังส่วนราชการ ห้องสมุดต่าง ๆ จนถึงกำนัน ผู้ใหญ่บ้านและหนังสือพิมพ์ เพื่อให้ประชาชนได้ทราบข้อเท็จจริงและเข้าใจถึงการปฏิบัติของรัฐบาลในการบริหารราชการแผ่นดินโดยมีหลักฐานที่ถูกต้อง..." 
 
 
( ภาพหายไป )ภาพพระภิกษุ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงรับบิณฑบาต
จากจอมพล ป. พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรีและท่านผู้หญิง
 
    วิวัฒนานุเบกษา ออกฉบับแรก ( ปฐมฤกษ์ ) 24 มิ.ย. 2499 มีทั้งหมด 28 ฉบับ ( ? ) ออกมา 1 ปีเท่านั้น ท่านก็หมดอำนาจ ! เจ้าของคือ กรมสารบรรณ คณะรัฐมนตรี ฝ่ายการเมือง มี ผู้อำนวยการฝ่ายเป็นประธานทำงาน จัดทำเพื่อ แสดงวิวัฒนาการ การบริหารราชการแผ่นดินบรรณาธิการ คือ นายเดช คงสายสินธุ์ สำนักงานตั้งอยู่ที่ กรมสารบรรณ คณะรัฐมนตรี ฝ่ายการเมือง พิมพ์ที่ โรงพิมพ์บำรุงนุกุลกิจ จังหวัดพระนคร
    
 

จอมพล ป. พิบูลสงคราม
 
  

 
 
 
 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น